12 ข้อที่ชาวเน็ตควรรู้เกี่ยวกับพรบ.ลิขสิทธิ์
1."รูปของเรา ลิขสิทธิ์ของเรา
รูปภาพ ข้อความ ภาพถ่าย วิดีโอ คลิป ของเรา ที่เราถ่ายเอง หรือ จ้างถ่ายจ้างผลิต เป็นลิขสิทธิ์ของเราโดยอัตโนมัติทันที
- สำนักข่าว เว็บไซต์ข่าว สื่อใดๆ จะเอาไปใช้งาน "ต้องขออนุญาตเราก่อน" และคุณสามารถให้พวกเขาใช้ฟรีๆ ได้ หรือ จะเจรจาขอส่วนแบ่งรายได้ ก็ยังได้ด้วย
และแม้ว่าเราจะส่งภาพถ่าย คลิปวิดีโอ ให้กับสถานีข่าว รายการวิทยุ หรือหนังสือพิมพ์เพื่อนำเอาไปเผยแพร่รายงาน ก็เป็นการให้ลิขสิทธิ์สำนักข่าวนั้นๆ เพื่อเผยแพร่เท่านั้น
แต่กรรมสิทธิ์ (ความเป็นเจ้าของ) ก็ยังตกเป็นของเราเช่นเดิม แต่สื่อถ้าจะซื้อภาพถ่ายเราไปใช้ในรายงานข่าว ก็สามารถซื้อได้ในราคายุติธรรม ซึ่งก็ทำให้รายการข่าวต่างๆ ต้องหันมาทำข้อตกลงการซื้อขายภาพข่าว คลิปวิดีโอกับนักข่าวพลเมืองอย่างเป็นธุรกิจมากขึ้น และสำนักข่าว เมื่อเอาคลิปเราไปใช้ ก็จะต้องระบุที่มา เจ้าของคลิปด้วย ไม่ใช่ซื้อไปแล้ว ขอไปแล้ว ไม่ระบุชื่อ แบบนี้ก็ยังผิด
แต่ "ถ้าเราโพสคลิปในยูทูบว์ หรือ เฟซบุ๊ก" แล้วตั้งค่าส่วนตัว ไม่ใช่ตั้งค่าสาธารณะ อันนี้ระวังนะครับ สำนักข่าวจะเอาคลิป ภาพ นี้ ไปใช้งานไม่ได้นะครับ เพราะไม่ได้ตั้งใจจะให้สาธารณะใช้ -- ถ้าบังเอิญนักข่าวมาพบ มาเห็นเจอ ต้องมาขออนุญาตก่อนนะครับ เจ้าของต้องยินยอม จึงจะนำเอาไปใช้ได้
2."เตือนใจนักก๊อป"
ชาวเน็ตทั้งหลาย ที่ชอบก๊อป สำเนา ภาพ วิดีโอ เนื้อหาบทความ กราฟิก ฯลฯ ต่างๆ จากเว็บไซต์หรือแหล่งอื่นๆ มาแปะ วาง ใส่ทั้งเนื้อหานั้น ไว้ในช่องทางสื่อของของตนเอง เช่นเฟซบุ๊ก ไอจี หรือ ทวิตเตอร์ หรือ ยูทูปว์ชาแนลของตนเองนั้น "ผิดกฎหมายลิขสิทธิ์"แต่ถ้าการเอามาแปะนั้น อยู่ใน "บัญชีผู้ใช้งานทั่วไป คนธรรมดา ที่ไม่ได้หาผลประโยชน์เชิงพาณิชย์" ไม่ได้วางขายโฆษณาอะไร ก็ถือว่า "ยังผิดลิขสิทธิ์" แต่แก้ไขได้ โดยการที่ต้อง "ระบุเจ้าของผลงาน แหล่งที่มา หรือ ให้ข้อมูลระบุลิงก์ที่มา" ก็จะไม่ถือว่าผิดลิขสิทธิ์ (แต่ ถ้าลืมบอกที่มาล่ะ เช่นไม่รู้ที่มาจริงๆ ก็แชร์เขามาเรื่อยๆ แบบนี้ผิดลิขสิทธิ์ไหม คำตอบคือ ก็ยังผิด แต่เป็นความผิดที่ยอมความได้อยู่แล้ว และคงไม่มีใครไปฟ้องเอาผิด เพราะเป็นการแชร์ที่ไม่ได้เอาไปประโยชน์เชิงพาณิชย์ แค่แชร์เพื่อกระจายข่าวสารข้อมูลเฉยๆ )
3."เว็บท่า เว็บปรสิต"
บรรดาเว็บไซต์ "portal web" เช่น กระปุก สนุก เอ็มไทย หรือเว็บไซต์กระทู้สนทนาดังๆ อย่างพันธ์ทิพยุ ถ้าจะเอาพวก ภาพ ข้อความ คลิป วิดีโอ บทความ รายงาน สกู๊ป รายการโทรทัศน์ เพลง มิวสิ
กวีดีโอ มาลงในเว็บของตนเอง ผิดหรือไม่ ? ตอบว่าผิดครับ เพราะเว็บไซต์เหล่านี้มีการหารายได้จากการโฆษณา <p>อ้าวแล้วถ้าระบุว่า "ขอบคุณที่มาจาก...." จะยังผิดไหม คำตอบคือ ก็ยังผิดอยู่ดีครับผม เพราะก็ยังใช้เชิงพาณิชย์ (ถึงจะขอบคุณก็ตาม) ถ้าเว็บไซต์ที่มีโฆษณา มีแบนเนอร์ อยากทำเพียงแค่ "ก๊อบปี้พาดหัวข่าว" และ "ก๊อปปี้ ลิงก์ข่าว" มาวางไว้ในเพจตัวเอง แล้วเมื่อคนอ่านมากดคลิ๊ก จะนำลิ้งก์ไปที่ต้นทาง ต้นฉบับของหนังสือพิมพ์ ของ
เว็บไซต์ต้นทาง (โดยที่เราไม่ได้เอาเนื้อหาข่าวมาวางในเว็บเรา) แบบนี้ "ไม่ผิดกฎหมายลิขสิทธิ์" นะครับถ้าจะทำให้ถูก คือต้องไปตกลงเจรจา ขออนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจะดีกว่า (เช่นจะขอฟรีๆ ก็ต้องฟรีแบบมีสัญญา หรือจะทำการซื้อขายแบ่งปันรายได้ก็แล้วแต่ตกลง)
4."ข่าวไม่มีลิขสิทธิ์ จริงหรือ"
ถ้าถามว่า เราจะแชร์ข่าว ผิดไหม? ตอบเลยว่า คนธรรมดา แชร์ข่าวไม่ผิดครับ แชร์ได้ตามปกติ และควรแชร์จากแหล่งต้นฉบับ ต้นทาง ไม่ใช่ มาโพสต์แชร์ใหม่ (แต่ ถึงเอาข่าว บทความ มาโพสต์แชร์ใหม่ ในเฟซบุ๊กบัญชีบุคคลธรรมดา ถ้าเอามาทั้งต้นฉบับเหมือเดิม และบอกระบุแหล่งที่มา แบบนี้ก็ไม่ผิดนะครับ เพราะไม่ถือว่าใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์) แต่ถ้า "เว็บตระกูลท่า ตระกูลซ่า หรือ ตระกูลไลค์" ทั้งหลาย เอาข่าวแชร์มา มาแปะวางลิงก์ในเว็บตัวเอง พอคนกดคลิ๊ก ก็ยังเป็นการคลิ๊กอ่านในยูอาร์แอลของตนเอง อันนี้ผิดลิขสิทธิ์นะครับ และยิ่งเอาภาพข่าวเขามาด้วย เอาคลิปข่าว คลิปสัมภาษณ์ ภาพกราฟิกเขามาด้วย ยิ่งผิดหนักเลยครับ (ถ้าไม่ขออนุญาต ไม่เจรจาซื้อขาย ก็ยิ่งผิดมาก)
5.แฟนคลับ เซฟรูปดารา ในไอจี ผิดไหม?
หลายคนเป็นแฟนคลับดารา ชอบและติดตาม บางคนเซฟรูปไว้ดูในมือถือ คอมพิวเตอร์ตนเอง ถามว่า ผิดกฎหมายลิขสิทธิ์ไหม คำตอบคือ "ผิด - แต่ยอมความได้นะครับ" เพราะไม่ได้เอาไปใช้ทำอะไร เอาไว้ใช้ส่วนตัวด้วยซ้ำ แต่ถ้าเอาไปเผยแพร่ซ้ำ ตัดต่อ อันนี้ก็ยิ่งผิดไปเลย ส่วนถ้าเป็นสำนักข่าวบันเทิง เซฟรูปดาราในไอจี หรือ เอาแหล่งรูปดาราในไอจีต่างๆ พริ๊ตตี้ คนดัง คนทั่วไปที่เป็นเน็ตไอดอล หน้าตาดี มาวางไว้ในเว็บไซต์ข่าวตัวเอง อันนี้ยิ่งผิดกฎหมายลิขสิทธิ์เลยนะครับ ฉะนั้น รีบไปเอาออกซะครับ
6.คอเกาหลี ซีรี่ย์ต่างประเทศ
เว็บดูหนัง ดูซีรี่ส์ เกาหลี หนังต่างประเทศ หนังแผ่น หนังออนไลน์ หนังชนโรง อันนี้ผิดกฎหมายลิขสิทธิ์ แน่นอน ทั้งที่ไปเอามาจากต่างประเทศ เอามาจากในประเทศ เอารายการโทรทัศน์มา แล้วมาใส่ซับไทย ทำแปล ทำพากย์ภาษาเอง และมีการวางขายโฆษณา แบนเนอร์ต่างๆ แนะนำเลยว่า "รีบปลด และรีบปิดด่วนๆ" เพราะอันนี้ผิดกฎหมายลิขสิทธิ์ชัดๆ และโทษน่าจะแรงที่สุดนะครับ
7.ข่าวต่างประเทศ ทำอย่างไร?
สำนักข่าว เอา ข่าวหนังสือพิมพ์มาอ่าน เอาข่าวต่างประเทศมาแปล ผิดไหม?
คำตอบคือ ถ้าแปลเฉพาะเนื้อหาข่าว มารายงาน อ่านนิ่งๆ ไม่มีภาพประกอบ ไม่ผิดครับ
แต่ถ้าเอาภาพ คลิปวิดีโอเขามาใช้ประกอบ (แล้วไม่ได้ขอ ไม่ได้ซื้อ) อันนี้ผิดกฎหมายครับ และโดนฟ้องร้องค่าเสียหายแพงมากด้วย
ส่วนที่ เอาข่าวหนังสือพิมพ์ มาเปิดดูแสดงหน้าหนึ่งในรายการโทรทัศน์ ไม่ถือว่าผิดกฎหมายลิขสิทธิ์ เอามาเล่า คุย ในรายการข่าว ก็ไม่ผิด ถ้าเอามาเล่าหรืออ่านในลีลาตัวเอง
แต่ถ้าเอามานั่งอ่านจริงๆ ตามตัวอักษรเป๊ะๆ ทุกคำ แถมยังใช้กล้อง แช่ภาพข่าวนั้นๆ อย่างนาน และจน(ต้องพิสูจน์)เป็นเหตุให้ คนดูรายการข่าว ไม่ไปซื้อหนังสือพิมพ์มาอ่านจริงๆ เพราะเนื่องจากดู
รายการคุยข่าวจนหมด จนพอใจที่จะคิดว่าไม่ต้องไปซื้อหนังสือพิมพ์มาอ่านแล้ว --- แบบนี้ถือว่า ผิดลิขสิทธิ์นะครับ เพราะถือว่าหนังสือพิมพ์เสียประโยชน์
8.ถ่ายคลิปในโรงหนัง
ดูหนังในโรงภาพยนตร์ ถ่ายคลิปหนังนั้นๆ ทั้งหมดหรือบางส่วน เอามาดูเองที่บ้าน ไม่ได้เอาไปขายทำหนังแผ่น ก็ผิดกฎหมายลิขสิทธิ์นะครับ
9.อยากช่วยคนพิการเข้าถึงสื่อ
อยากเป็นคนจิตใจดี ช่วยทำซ้ำ ดัดแปลง งานอันมีลิขสิทธิ์ เช่นหนัง รายการโทรทัศน์ เพลง ฯลฯ เพื่อให้คนพิการสามารถเข้าถึงงานนั้นได้ โดยมิใช่เป็นการแสวงหากำไร ไม่ผิดลิขสิทธิ์นะครับ
10.ขายของเป็นมือสอง สำเนาเก็บสำรอง ซื้อหนัง ซื้อเพลง ภาพวาด หนังสือ ภาพถ่าย อย่างถูกต้องตามกฎหมายมาแล้ว ใช้งานจนเบื่อ อยากเอาไปขาย เป็นสินค้ามือสอง ไม่ผิดกฎหมายลิขสิทธิ์นะครับ
หรือจะสำเนาซ้ำ อยากเก็บอยากใช้แต่แผ่นสำเนา ส่วนแผ่นจริงเก็บเอาไว้ เอาแผ่นสำเนามาใช้เอง มาดูเอง ก็ยังไม่ถือว่าการสำเนาซ้ำนั้นผิดลิขสิทธิ์นะครับ (เพียงแต่อย่าสำเนาแล้วแจกจ่ายให้เพื่อนบ้าน เครือญาตินะครับ อันนั้นผิด)
ยกเว้นว่า ทำสำเนาซ้ำจากต้นฉบับที่ซื้อมา แล้วเอาสำเนาซ้ำนั้นไปขายเพื่อการค้า หาเงิน แบบนั้นก็ถือว่าผิดลิขสิทธิ์แล้วครับ
11.อาจารย์ นักศึกษา สำเนาข้อมูล งานวิจัย สื่อภาพยนตร์ วิดีทัศน์ เอาไปใช้ในการศึกษา เพื่อการค้นคว้า วิจัย ไม่ผิดกฎหมายลิขสิทธิ์นะครับ
บรรณารักษ์สำเนาหนังสือหายาก ไม่ผิดกฎหมายลิขสิทธิ์ แต่ถ้าบรรณารักษ์สำเนาหนัง เพลง หนังสือ ที่ยังอยู่ในช่วงของการหาประโยชน์รายได้อยู่ แบบนั้นบรรณารักษ์ผิดกฎหมายลิขสิทธิ์นะครับ
12.ใส่รหัสป้องกันละเมิดสิทธิ์ได้ไหม
ผลงานทุกอย่าง สามารถใส่รหัสป้องกันการละเมิดสิทธิ์ได้ หรือเราสามารถกำหนดวิธีการนำไปใช้งานได้ ตามที่เราจะเห็นสมควร เช่น เพื่อประโยชน์การศึกษา เพื่อวิจัย เพื่ออะไรก็ได้ตามที่เราระบุแต่
แรกเรายังมีสิทธิ์ใส่ลายน้ำ ลายเซ็น ข้อมูลดิจิทัล หรือใส่รหัสป้องกันการละเมิดดิจิทัลได้และถ้าใครมาละเมิดหรือทำลายระบบป้องกันนั้น ก็ถือว่าผิดลิขสิทธิ์เช่นกัน