บัญญัติ 10 ประการ รู้รอดปลอดภัย การใช้อุปกรณ์ไอที
1.ตั้งรหัสผ่านในการใช้บัญชีอีเมลให้มีความปลอดภัยเพียงพอ ตั้งรหัสผ่านไม่น้อยกว่า 8 ตัวอักษร ที่คาดเดาได้ยาก แต่จำเองได้ง่าย และเปลี่ยนรหัสผ่านสม่ำเสมอ เช่น ทุก ๆ 3 เดือน
2. ไม่ใช้รหัสผ่านของบัญชีอีเมล เป็นรหัสผ่านในการใช้ Social Media โปรแกรมสังคมออนไลน์ เช่น Facebook กำหนดให้ใช้ชื่อ E-mail เป็น ชื่อผู้ใช้ ให้ตั้งรหัสผ่านใหม่ที่ไม่ใช่รหัสเดียวกับรหัสผ่านของบัญชีอีเมล
3.ให้ระวังในการคลิกลิงก์ดาวน์โหลดไฟล์ แม้จะส่งมาจากเพื่อน ให้ระวังการคลิกลิงก์ดาวน์โหลดโปรแกรมฟรี ไฟล์ รูปภาพ เกม หรือแม้แต่ชื่อเว็บไซต์แบบย่อ หรือ link โฆษณา อาจมีโปรแกรมโทรจันแฝง
4. ดาวน์โหลดโปรแกรมหรือไฟล์จากผู้พัฒนาโดยตรง อย่าดาวน์โหลดผ่านลิงก์หรือโปรแกรมค้นหาข้อมูล (search engine)
5. หลีกเลี่ยง application ที่มีการขออนุญาตมากเกินความจำเป็น เมื่อมีการติดตั้งโปรแกรมในสมาร์ทโฟนหรืออุปกรณ์ไอที ควรตรวจดูการขออนุญาต (permission) ในการเข้าถึงข้อมูลในเครื่อง
6. แอพฯที่ไม่ได้ใช้งานแล้ว ให้ปิดบัญชีผู้ใช้ หากมีการถอนการติดตั้งโปรแกรม หรือแอพพลิเคชั่นที่ไม่ใช้งาน ควรดำเนินการถอนอย่างถูกต้อง รวมทั้งลบหรือปิดไอดีบัญชีผู้ใช้
7. ซื้ออุปกรณ์ไอที สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต มือสอง ต้องระวัง หากซื้อเครื่องมือสอง ต้องติดตั้งค่าใหม่ เพื่อป้องกันโปรแกรมแฝงต่าง ๆ
8. ติดตั้งโปรแกรมป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต อุปกรณ์สื่อสารพกพาต่าง ๆ ให้ติดตั้งโปรแกรมไวรัสคอมพิวเตอร์จากบริษัทผู้ให้บริการที่เชื่อถือได้
9. ติดตามข่าวสารความเคลื่อนไหวของไวรัสและภัยอินเทอร์เน็ต ติดตามบริษัทผู้ให้บริการผลิตภัณฑ์ บริษัทที่ปรึกษาด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัย รวมทั้งการเข้าร่วมอบรมและสัมมนาต่าง ๆ
10. ศึกษาเทคนิคการหลอกลวงหรือล้วงข้อมูล ภัยคุกคามปัจจุบันสู่สามัญ โดยอาศัยความโลภและความกลัวของคน ด้วยการหลอกลวงต้มตุ๋นผ่านกระบวนการทางสังคมที่เรียกว่า Social Engineering โดยให้ติดตามข่าวสารภัยใหม่ ๆ อย่างสม่ำเสมอ
ขอขอบคุณ ข้อมูลจาก อ.ปริญญา หอมอเนก ผอ.สถาบันพัฒนาผู้เชี่ยวชาญระบบเครือข่ายและความปลอดภัยคอมพิวเตอร์ (ACIS Professional Center) และเลขาฯ สมาคมความมั่นคงปลอดภัยระบบสารสนเทศศูนย์วิจัยนวัตกรรมอินเทอร์เน็ตไทย